ต.ค. 07, 2024, 11:30 PM

ข่าว:

แหล่งรวมประสบการณ์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของทุกคน


คาวตอง

เริ่มโดย admin, มิ.ย. 26, 2022, 03:27 PM

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

admin

คาวตอง เป็น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 15-30 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว รากแตกออกตามข้อ
มีกลิ่นคาวทั้งต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-10 ซม.
ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านบนของใบเป็นสีเขียวเข้ม
ด้านล่างออกสีม่วง ก้านใบยาวและโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ
ที่โคนช่อดอก ปลายมน ดอกเล็กจำนวนมาก สีขาวยออกเหลือง ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้ เมล็ดรี
คาวตองป็นยาสมุนไพรทั้งต้น เก็บในฤดูร้อน และฤดูหนาว ถอนทั้งต้นและราก ล้างให้สะอาด
ตากแห้งเก็บไว้ใช้ ช่อดอก ดอกย่อย ช่อดอกแก่ ผล เมล็ด ผักคาวตองชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ
อีกได้แก่: คาวตอง (ลำปาง,อุดร) คาวทอง (มุกดาหาร,อุตรดิตถ์) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) ผักเข้าตอง
ผักคาวตอง ผักคาวปลา (ภาคเหนือ) พลูคาว (ภาคกลาง) กระจายพันธุ์ในอินโดจีน, จีน,
ประเทศไทยพบตามที่ชื้นแฉะริมน้ำทางภาคเหนือหรือปลูกไว้เป็นยาหรืออาหาร



คาวตอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb.
คาวตอง ประเทศญี่ปุ่นเรียก โดกุดามิ ไทยเรียกพลูคาว ภาษาอังกฤษเรียก Fish leaf
(ใบมีกลิ่นคาวปลา) หรือ Heart leaf เนื่องจากใบเป็นรูปหัวใจ
ซึ่งมีชื่อสามัญอื่นๆ อีกหลายชื่อตามท้องถิ่น
ชื่ออื่นๆ คาวตอง (ลำปาง,อุดร) คาวทอง (มุกดาหาร,อุตรดิตถ์) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน)
ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง, ผักคาวปลา (ภาคเหนือ) พลูคาว (ภาคกลาง)
พลูคาวเป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือของไทย
ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อย
และสภาพอากาศเย็นชาวบ้านในเขตภาคเหนือจะเรียกว่า "ผักคาวตอง"
เนื่องจากต้นและใบจะมีกลิ่นคาวรุนแรงคล้ายคาวปลา ซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำใบ
มาเป็นเครื่องเคียงอาหารสดๆ เช่น ลาบ ซ่า ก้อย ซกเล็ก เป็นต้น
ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าอาหารสดๆ เหล่านั้นจะเป็นปัจจัย ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
และตัวพลูคาวนี้จะเข้าไปช่วยสร้างความสมดุล และยับยั้งไม่ให้มะเร็งลุกลาม
ถือว่าเป็นสมุนไพรที่มีสารในการต้านมะเร็ง สังเกตได้ว่าประชากรในภาคเหนือ
เป็น " โรคมะเร็ง" ค่อนข้างน้อยเนื่องจากบริโภคพลูคาวเป็นประจำ

สรรพคุณ
ทั้งต้น รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
ต้นสด ใช้ภายนอก พอกฝี บวมอักเสบ บาดแผล โรคผิวหนัง ดากออก งูพิษกัด และช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น
ใบสด ผิงไฟพอนิ่ม ใช้พอกเนื้องอกต่างๆ ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย ต้มน้ำรดต้นฝ้าย ข้าวสาลี และข้าว ป้องกันพืช
เป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย พืชนี้ใช้รับประทานเป็นยาระบาย ขับพยาธิ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ออกหัด
ดอก ใช้ขับทารกที่ตายในท้อง

ใช้พืชนี้ต้มรับประทานติดต่อกันเป็นประจำ แก้โรคน้ำกัดเท้า อาจรับประทานน้ำต้มจากพืชอย่างเดียว
หรือผสมวิตามินเอและวิตามินรวมด้วย ได้มีการขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ตำรับยานี้ นอกจากนี้มีผู้ขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องสำอาง
โดยใช้น้ำมันจากผักคาวทองเป็นครีม ทาแก้ผิวหนังหยาบกร้าน และใช้ป้องกันผิวหนังแตกเป็นร่อง

สารเคมีที่พบ
ในญี่ปุ่น : มีน้ำมันระเหย 0.0049% ประกอบด้วยสารมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อคือ Decanoylacetaldehyde
               และยังมี methyl - n - nonylketone, myrcene, lauric alldehyde, capric aldehyde, capric acid
ในจีน : มีน้ำมันระเหย ประกอบด้วย Decanoylacetaldehyde dodecanaldehlyde, 2-undecanone,
            caryophyllene a-pinene, camphene, myrcene, d-limonene, linalool และ bornyl acetate
ในเนปาล : ใช้ลำต้นใต้ดิน ในตำรับยาที่เกี่ยวกับโรคของสตรี ใช้ทั้งต้นเป็นยาช่วยย่อย บรรเทาอาการอักเสบ
                  และขับระดู ใบใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง แก้บิด และริดสีดวงทวาร
ในอินเดีย : ใช้ทั้งใบหรือทั้งต้นเป็นผักต้มกิน นอกจากนี้ยังมี โปแตสเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมซัลเฟต และ cordarine
ดอกและใบ สารพวก flavone ประกอบด้วย Quercirin, Isoquercitrin, quercetin, reynoutrin และ hyperin
ราก มีน้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วย decanoyl acetaldehyde

การนำสารเคมีในผักคาวทองไปประยุกต์ใช้
จากผลงานวิจัยของอาจารย์แพทย์ ที่ม.เชียงใหม่ และม.ขอนแก่น พบว่าสารเคมีที่พบนั้นเป็นสารจำพวกโพรไบโอติกส์
ที่ไม่ทำลายตับ-ไตเพราะไม่มีแอลกอฮอล์ปนเปื้อนแม้แต่น้อย และสามารถใช้ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์เช่นเคมีบำบัด
หรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อยลง สมุนไพรที่มีความบริสุทธิ์ไม่มีสารพิษหรือเคมี
และได้จุลินทรีย์ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอย่างดี ทำให้เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย
ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น หรือต้องการ detox ล้างพิษออกจากร่างกายป้องกันโรคร้าย ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น
เนื่องจากร่างกายคนเรามีระบบธรรมชาติบำบัด ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ทำให้โรคต่าง ๆ มีอาการดีขึ้น
และหายจากอาการของโรคต่างๆได้ในที่สุด

ในประเทศจีนมีการใช้พลูคาวเป็นส่วนผสมตำรับยาต้าน Influenza virus เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่ใช้ในการป้องกัน
และรักษาอาการของโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารหรือน้ำดื่มที่ใช้เลี้ยงไก่ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสม
ในตำรับยารับประทานสำหรับลดไข้ รักษาโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง เป็นส่วนประกอบในตำรับยา
ใช้รักษาการติดเชื้อเฉียบพลัน หวัด ไข้หวัดใหญ่และการติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น
ใช้ทารักษาโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก

ล่าสุดได้มีการศึกษาคุณสมบัติของพลูคาว ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าสามารถนำมาพัฒนาเป็นยาต้านไวรัส
ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ได้หรือไม่ เชื่อว่าจะสามารถ
ต้านเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะเชื้อ HIV

การประยุกต์ใช้ทางด้านการแพทย์
1.โรคทางเดินหายใจอักเสบ
2.โรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป
3.โรคไอกรน
4.อาการคั่งน้ำในอกจากโรคคมะเร็ง
5.ป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด
6.โรคท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
7.โรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน
8.อาการไตผิดปกติ
9.รักษาแผลอักเสบคอมดลูก
10.การอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน
11.การอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา
12.โรคหัด
13.โรคต่อมทอนซิลอักเสบจากการระบาด

ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย เป็นอย่างยิ่ง

www.คาวตอง.com